ITSSCALLAB สอบเทียบเครื่องมือวัด ซ่อมเครื่องมือวัด ตู้อบเชื้อ

บริการจัดทำ Temperature Mapping อย่างครบวงจร ตั้งแต่การดำเนินการจัดทำ Mapping Protocol เก็บบันทึกข้อมูล และ จัดทำรายงานผลการศึกษา Temperature Mapping โดยพนักงานผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์

ขั้นตอนการทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping)

ในกระบวนการศึกษาและจัดทำ Temperature Mapping จะต้องมีการเตรียมเอกสาร Mapping Protocol ก่อน จากนั้นจึงศึกษาอุณหภูมิและความชื้น และดำเนินการจัดทำรายงานผลการศึกษา

  1. เลือกเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ที่หน่วยความจำกับช่วงใช้งานครอบคลุมและผ่านการรับรองการสอบเทียบ ISO/IEC 17025 โดยจะต้องมีค่า error ไม่เกิน ± 0.5 ˚C โดยข้อมูลที่ได้จะต้องบันทึกและวิเคราะห์ตามข้อกำหนด เช่น 21 CFR part 11 Software
  2. จัดตั้งทีมงานสำหรับการทำ Temperature Mapping
  3. สำรวจพื้นที่หน้างานและวาดแผนผังพื้นที่ที่จะทำการศึกษา โดยจะต้องทราบ ความกว้าง ความยาว และความสูง ของพื้นที่ที่จะทำการศึกษา รายละเอียดของชั้นวางของ พาเลท อุปกรณ์ทำความร้อน เครื่องปรับอากาศ พัดลม ที่มีผลต่อความเสถียรของอุณหภูมิ
  4. กำหนดเกณฑ์การยอมรับสำหรับพื้นที่ที่จะทำการศึกษา
  5. กำหนดตำแหน่งที่จะติดตั้งเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger)

จะถูกติดตั้งในแนวกว้าง และแนวยาว ทุก 5-10 เมตร (พื้นที่ที่ทำการศึกษามีขนาดใหญ่สามารถติดตั้งเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ห่างกันได้ทุก 20-30 เมตร) ความสูง หากเพดานสูงไม่เกิน 3.6 เมตร แนะนำให้ติดตั้ง 3 ระดับ หากเพดานสูงมากกว่า 3.6 เมตร ให้ประเมินจุดติดตั้งมากกว่า 3 ระดับ

  1. กำหนดรหัสเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) และระบุตำแหน่งที่นำไปติดตั้งให้ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ถูกนำไปติดตั้งสลับตำแหน่งกัน
  2. ดำเนินการตั้งโปรแกรมเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger)ให้เริ่มต้นทำงานในวันและเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปตั้งค่าการบันทึกข้อมูลอยู่ที่ระหว่าง 1 – 15 นาที
  3. นำเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) ไปติดตั้งตามตำแหน่งที่กำหนดไว้
  4. ดำเนินการทำ Temperature Mapping
  5. ดาวน์โหลดข้อมูลที่ทำการบันทึกจากเครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger)

หลังจากได้ข้อมูลและรายงานผลเพื่อหาจุด Hot spot และ Cold spot ของพื้นที่แล้ว จะต้องมีการติดตั้ง เครื่องมือบันทึกอุณหภูมิ/ความชื้น (Data Logger) เพื่อใช้สำหรับติดตามอุณหภูมิในตำแหน่งจุดวิกฤต

คำแนะนำ การทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping)

  • ควรดำเนินการทดสอบแบบ Empty Load (หากสามารถดำเนินการได้) และแบบ Full Load เพื่อจะได้ทราบถึงขีดความสามารถของการเก็บรักษาวัตถุดิบ, สินค้าและผลิตภัณฑ์
  • ควรดำเนินการทดสอบในช่วงเวลา ประมาณ 3 วัน 5 วัน หรือ 7 วัน
  • ควรทำในสภาวะที่แตกต่าง เช่น ทำตามฤดูกาล ทำตามสภาวะที่อาจเกิดความผิดพลาดของ ระบบความคุมอุณหภูมิ เช่น ไฟฟ้าดับ เป็นต้น เพื่อทดสอบว่าหากระบบมีการขัดข้อง ไม่มีไฟสำรอง หรือระบบไม่ทำงาน เพื่อจะได้มีวางแผนในการรับมือหากเกิดเหตุดังกล่าวขึ้น
  • หากพื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบ, สินค้าและผลิตภัณฑ์ มีการปรับเปลี่ยนระบบทำความเย็น, ทิศทางการระบายอากาศ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการควบคุมอุณหภูมิ แนะนำให้มีการทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping) ซ้ำ เพื่อให้ตรวจสอบระบบอีกครั้งว่าการเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่
  • หากไม่มีการปรับเปลี่ยนระบบใดๆ แนะนำให้ตรวจสอบโดยการทำแผนผังอุณหภูมิ (Temperature Mapping) เพื่อเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทุกๆ 3-5 ปี

qr code

 

ติดต่อเราผ่านทาง LINE ID เพียงสแกน QR Code หรือ คลิ๊กที่รูปได้เลยค่ะ...! หรือ

 

ติดต่อเพิ่มเติม

โทร : 02-557-1073

อีเมล์ : [email protected]

ID LINE : itss17025

 

Products Filter

a

 

b